The Fault in Our Stars (2014) ดาวบันดาล
จากนิยายขายดีอันดับหนึ่งใน “The New York Time” ของ “จอห์น กรีน” The Fault in Our Stars สู่จอภาพยนตร์ในชื่อเรื่องเดียวกันกับซึ่งทั้งพระเอกและนางเอกของเรื่องนี้เคยเจ๊อะกันมาแล้วใน “Divergent” ก่อนอื่นอยากจะบอกว่า นอกจากหนังที่โคตรจะซึ้งและดราม่าอย่าง ”Her” ของปีนี้แล้ว ก็มีเรื่องนี้แหละที่ทำให้ซึ้งจนน้ำตาแทบทะลัก หนังเป็นเรื่องราวของสองผู้ป่วยโรคมะเร็ง “เฮเซล เกรซ แลนแคสเตอร์” (ไชลีน วูดเลย์) และ “กัส วอเตอร์ส” (แอนเซล เอลกอร์ต)ได้เดินทางมาเจอกัน และเมื่อพวกเขาสองคนได้คุยกันก็ได้รู้ว่าทั้งสองชอบอ่านหนังสือเหมือนกัน ซ้ำกัสเองก็ยังชอบหนังสือ “An Imperial Affliction” ที่เฮเซลได้ให้เขามาอ่าน แต่เมื่อตอนจบของหนังสือเรื่องนี้ มันจบแบบค้างคาทำให้ตัวเฮเซลอยากเจอตัวผู้เขียนมาก กัสแกก็เลยจัดเซอร์ไพรส์ด้วยการติดต่อกับผู้ช่วยของผู้เขียนโดยการส่งเมลไป และเมื่อเขาตอบกลับมาว่าสามารถไปเจอเขาได้ที่อัมสเตอร์ดัม ดาวบันดาล แต่เมื่อไปเจอคนที่เขียนเขากลับไม่ใช่คนอย่างที่คิด แต่สิ่งที่เฮเซลได้จากการเดินทางในครั้งนี้มันไม่ใช่ตอนจบของหนังสือ แต่มันเป็นการได้พบรักแท้ที่โคตรจะหวาน และซึ้งจนทำให้คนดูน้ำตาท่วมจอหนังนำเสนอเรื่องจริงของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่วันๆได้แต่อยู่บ้านดูทีวีหรือทำอะไรน่าเบื่อๆ ไปวันๆ รอไปหาหมอ และก็หาหมอ ซึ่งมันก็น่าเบื่อสำหรับผู้ป่วยหลายๆคน แต่มันจะไม่น่าเบื่ออีกต่อไปสำหรับเฮเซลเมื่อกัสได้เข้ามาเปลี่ยนชีวิตของเธอให้มีสีสันและชีวิตชีวาถึงแม้ว่าหนังเรื่องนี้จะเล่าเรื่องผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง แต่หนังกลับทำออกมาได้ดีไม่หดหู่ ซึ่งมันตรงกันข้ามมันกลับกลายเป็นหนังฟีลกู๊ดที่สร้างกำลังให้แกคนดูได้ดีเลยทีเดียว และถึงแม้จะเป็นเวลาสองชั่วโมงสำหรับหนังแนวดราม่า แต่ตัวหนังก็ทำออกมาได้น่าติดตาม จนคนดูไม่อาจละสายตาไปจากเฮเซลและกัสในหนังได้เลย !! ซ้ำหนังยังทำให้คนดูเข้าใจผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น ทั้งช่วงที่ดีที่สุดของเขา และย่ำแย่ที่สุด เพราะเมื่อคนที่เป็นโรคนี้ ในยามที่มีความสุขหรือความทุกข์จะมีมากกว่าคนทั่วไปถึงสองเท่า เพราะเมื่อมีความสุขเราก็จะเก็บเกี่ยวมันให้มากที่สุด เพราะเราเองก็ไม่รู้ว่าความทุกข์หรือโรคภัยนั้น มันจะมาทำร้ายเราเมื่อไหร่ (เพราะมันไม่เคยโทรจองคิวล่วงหน้า อิอิ)หนังมีดราม่าครบเครื่องทั้งในเรื่องของ คนรัก ครอบครัว และเพื่อน แต่อีกสิ่งที่แฝงอยู่ในดราม่าพวกนี้คือความรัก ที่หนังเรื่องนี้ให้ความสำคัญกับมันอย่างลงตัว ไม่ใช่เพราะว่ามันเท่ากัน แต่มันอยู่ในที่ๆมันควรจะอยู่ อันไหนควรใส่มากก็มาก อันไหนใส่น้อยก็น้อย แต่ถึงในบางส่วนจะน้อย แต่ก็ทำออกมาได้ซึ้งจับใจ ยกตัวอย่างเช่นตัวละครของเพื่อน ซึ่งก็รู้ๆกันว่าหนังมันไม่ใช่พวกแนวมิตรภาพ (แบบพวก เฮ้ย !! เพื่อนกูรักวะ) แต่พอถึงเวลาดราม่าแล้ว หนังก็ดึงอารมณ์ของคนดูออกมาได้แบบน้ำตาคลออะ นอกจากนี้หนังยังแฝงนัยยะต่างๆ ให้คนดูคิดตามมันอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ที่พระเอกสูบ หรือบางสิ่งที่มันไร้ค่าในตอนแรก แต่มันกลับมีค่ามากมายสำหรับเราขึ้นมาในตอนหลัง ซึ่งมันทำให้หนังดูมีเสน่ห์และชวนน่าหลงไหลมากเลยทีเดียว